หน้าเว็บ

รวมคาถาธรรมบทไทยอังกฤษ5


หมวดชรา - OLD AGE

๑. โกนุ หาโส กิมานนฺโท 
นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ 
อนฺธกาเรน โอนทฺธา 
ปทีปํ น คเวสถ ฯ ๑๔๖ ฯ

จะมัวร่าเริง สนุกสนานกันทำไม 
ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ 
พวกเธอถูกความมืดมิดปิดบังตา 
ไยไม่แสวงหาแสงสว่างกันเล่า

What this laughter, what this joy 
When the world is ever on fire? 
Shrouded all about by darkness, 
Will you not then look for light?


๒. ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ 
อรุกายํ สมุสฺสิตํ 
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ 
ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ฐิติ ฯ ๑๔๗ ฯ

จงดูร่างกายที่ว่าสวยงามนี้เถิด 
เต็มไปด้วยแผล สร้างขึ้นด้วยกระดูก 
มากด้วยโรค มากด้วยความคร่นคิดปรารถนา 
หาความยั่งยืนถาวรมิได้

Behold this beautiful body, 
A mass of sores, a bone-gathering, 
Diseased and full of hankerings, 
With no lasting, no persisting.

๓. ปริชิณฺษมิทํ รูปํ 
โรคนิฑฺฒํ ปภงฺคุณํ 
ภิชฺชติ ปูติสนฺเทโห 
มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ฯ ๑๔๘ ฯ


ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นที่อาศัยของโรค 
แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ 
จักแตกสลายพังภินท์ 
เพราะขีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย


Thoroughly worn out is this body, 
A net of diseases and very frail. 
This heap of corruption breaks to pieces. 
For life indeed ends in death.


๔. ยานีมานิ อปตฺถานิ 
อลาพูเนว สารเท 
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ 
ตานิ ทิสฺวาน กา รติ ฯ ๑๔๙ ฯ


กระดูกเหล่านี้ มีสีขาวเหมือนสีนกพิราบ 
ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ 
ดุจน้ำเต้าในฤดูสารท 
ดูแล้วไม่น่าปรารถนายินดี

As gourds are cast away in autumn, 
So are these dove-hued bones. 
What pleasure is there found 
For one who looks at them?


๕. อฏฺฐีนํ นครํ กตํ 
มํสโลหิตเลปนํ 
ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ 
มาโน มกฺโข จ โอหิโต ฯ ๑๕๐ ฯ

ร่างกายนี้เป็น "อัฐินคร" (เมืองกระดูก) 
ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต 
เป็นที่สถิตแห่ง ชรา มรณะ 
ความเย่อหยิ่ง และความดูถูกบุญคุณกัน

Of bones is this city made, 
Plastered with flesh and blood. 
Herein dwell decay and death, 
Pride and detraction.

๖. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา 
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ 
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ 
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ฯ ๑๕๑ ฯ

ราชรถ อันวิจิตรงดงาม ยังเก่าได้ 
แม้ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ 
แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่ 
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้แล

Splendid royal chariots wear away, 
The body too comes to old age. 
But the good's teaching knows not decay. 
Indeed, the good tech the good in this way.

๗. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส 
พลิวทฺโทว ชีรติ 
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ 
ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ ฯ ๑๕๒ ฯ

คนโง่แก่เปล่า 
เหมือนโคถึก 
มากแต่เนื้อหนังมังสา 
แต่ปัญญาหาเพิ่มขึ้นไม่


Just as the ox grows old, 
So ages he of little learning, 
His flesh increases, 
His wisdom is waning.


๘. อเนกชาติสํสารํ 
สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ 
คหการํ คเวสนฺโต 
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ ฯ ๑๕๓ ฯ

เมื่อไม่พบนายช่างผู้สร้างเรือน 
เราได้เวียนว่ายตายเกิด 
ในสงสารนับชาติไม่ถ้วน 
การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์


Through many a birth 
I wandered in Samsara, 
Seeking but not finding the Housebuilder, 
Painful is birth ever again and again.

๙. คหการก ทิฏฺโฐสิ 
ปุน เคหํ น กาหสิ 
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา 
คหกูฏํ วิสงฺขตํ 
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ 
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ ๑๕๔ ฯ

นายช่างเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว 
ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก 
จันทัน อกไก่ เราทำลายหมดแล้ว 
จิตของเราบรรลุนิพพาน 
หมดความทะยานอยากแล้ว

O Housebuilder, you have been seen, 
You shall not build the house again. 
Your rafters have been broken, 
Your ridge-pole demolished too. 
My mind has now attained the Unconditioned, 
And reached the end of all craving.

๑๐. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
ชิณฺณโกญฺจาว ฌายนฺติ 
ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล ฯ ๑๕๕ ฯ

เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดีและไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนั่งซบเซา 
เหมือนนกกะเรียนแก่ 
จับเจ่าอยู่ริมสระที่ไร้ปลา

Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They pine away as aged herons 
Around a fishless pond.


๑๑. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
เสนฺติ จาปาติขีณาว 
ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ฯ ๑๕๖ ฯ

เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดี และไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนอนทุกข์ 
ทอดถอนใจรำพึงถึงความหลัง 
เหมือนธนูหัก (ใช้ยิงอะไรก็ไม่ได้)


Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They lie about like broken bows, 
Sighing about the past.


หมวดชรา - OLD AGE

๑. โกนุ หาโส กิมานนฺโท 
นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ 
อนฺธกาเรน โอนทฺธา 
ปทีปํ น คเวสถ ฯ ๑๔๖ ฯ
จะมัวร่าเริง สนุกสนานกันทำไม 
ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ 
พวกเธอถูกความมืดมิดปิดบังตา 
ไยไม่แสวงหาแสงสว่างกันเล่า
What this laughter, what this joy 
When the world is ever on fire? 
Shrouded all about by darkness, 
Will you not then look for light?

๒. ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ 
อรุกายํ สมุสฺสิตํ 
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ 
ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ฐิติ ฯ ๑๔๗ ฯ
จงดูร่างกายที่ว่าสวยงามนี้เถิด 
เต็มไปด้วยแผล สร้างขึ้นด้วยกระดูก 
มากด้วยโรค มากด้วยความคร่นคิดปรารถนา 
หาความยั่งยืนถาวรมิได้
Behold this beautiful body, 
A mass of sores, a bone-gathering, 
Diseased and full of hankerings, 
With no lasting, no persisting.
๓. ปริชิณฺษมิทํ รูปํ 
โรคนิฑฺฒํ ปภงฺคุณํ 
ภิชฺชติ ปูติสนฺเทโห 
มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ฯ ๑๔๘ ฯ

ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นที่อาศัยของโรค 
แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ 
จักแตกสลายพังภินท์ 
เพราะขีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย

Thoroughly worn out is this body, 
A net of diseases and very frail. 
This heap of corruption breaks to pieces. 
For life indeed ends in death.

๔. ยานีมานิ อปตฺถานิ 
อลาพูเนว สารเท 
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ 
ตานิ ทิสฺวาน กา รติ ฯ ๑๔๙ ฯ

กระดูกเหล่านี้ มีสีขาวเหมือนสีนกพิราบ 
ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ 
ดุจน้ำเต้าในฤดูสารท 
ดูแล้วไม่น่าปรารถนายินดี
As gourds are cast away in autumn, 
So are these dove-hued bones. 
What pleasure is there found 
For one who looks at them?

๕. อฏฺฐีนํ นครํ กตํ 
มํสโลหิตเลปนํ 
ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ 
มาโน มกฺโข จ โอหิโต ฯ ๑๕๐ ฯ
ร่างกายนี้เป็น "อัฐินคร" (เมืองกระดูก) 
ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต 
เป็นที่สถิตแห่ง ชรา มรณะ 
ความเย่อหยิ่ง และความดูถูกบุญคุณกัน
Of bones is this city made, 
Plastered with flesh and blood. 
Herein dwell decay and death, 
Pride and detraction.
๖. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา 
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ 
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ 
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ฯ ๑๕๑ ฯ
ราชรถ อันวิจิตรงดงาม ยังเก่าได้ 
แม้ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ 
แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่ 
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้แล
Splendid royal chariots wear away, 
The body too comes to old age. 
But the good's teaching knows not decay. 
Indeed, the good tech the good in this way.
๗. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส 
พลิวทฺโทว ชีรติ 
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ 
ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ ฯ ๑๕๒ ฯ
คนโง่แก่เปล่า 
เหมือนโคถึก 
มากแต่เนื้อหนังมังสา 
แต่ปัญญาหาเพิ่มขึ้นไม่

Just as the ox grows old, 
So ages he of little learning, 
His flesh increases, 
His wisdom is waning.

๘. อเนกชาติสํสารํ 
สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ 
คหการํ คเวสนฺโต 
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ ฯ ๑๕๓ ฯ
เมื่อไม่พบนายช่างผู้สร้างเรือน 
เราได้เวียนว่ายตายเกิด 
ในสงสารนับชาติไม่ถ้วน 
การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์

Through many a birth 
I wandered in Samsara, 
Seeking but not finding the Housebuilder, 
Painful is birth ever again and again.
๙. คหการก ทิฏฺโฐสิ 
ปุน เคหํ น กาหสิ 
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา 
คหกูฏํ วิสงฺขตํ 
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ 
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ ๑๕๔ ฯ
นายช่างเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว 
ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก 
จันทัน อกไก่ เราทำลายหมดแล้ว 
จิตของเราบรรลุนิพพาน 
หมดความทะยานอยากแล้ว
O Housebuilder, you have been seen, 
You shall not build the house again. 
Your rafters have been broken, 
Your ridge-pole demolished too. 
My mind has now attained the Unconditioned, 
And reached the end of all craving.
๑๐. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
ชิณฺณโกญฺจาว ฌายนฺติ 
ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล ฯ ๑๕๕ ฯ
เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดีและไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนั่งซบเซา 
เหมือนนกกะเรียนแก่ 
จับเจ่าอยู่ริมสระที่ไร้ปลา
Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They pine away as aged herons 
Around a fishless pond.

๑๑. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ 
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ 
เสนฺติ จาปาติขีณาว 
ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ฯ ๑๕๖ ฯ
เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว 
ไม่ทำตัวให้ดี และไม่หาทรัพย์ไว้ 
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนอนทุกข์ 
ทอดถอนใจรำพึงถึงความหลัง 
เหมือนธนูหัก (ใช้ยิงอะไรก็ไม่ได้)

Having led neither a good life, 
Nor acquired riches while young, 
They lie about like broken bows, 
Sighing about the past.

หมวดตน - THE SELF
๑. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา 
รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ 
ติณฺณมญฺญตรํ ยามํ 
ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๗ ฯ

ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก 
พึงรักษาตนไว้ให้ดี 
บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ 
ไม่ทั้งสามวัยใดวัยหนึ่ง

If one holds oneself dear, 
One should protect oneself well. 
During any of the three watches (of life) 
The wise should keep vigil.

๒. อตฺตานเมว ปฐมํ 
ปฏิรูเป นิเวสเย 
อถญฺญมนุสาเสยฺย 
น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๘ ฯ


ควรปฏิบัติตนให้ดีก่อน 
แล้วค่อยสอนคนอื่น 
บัณฑิตเมื่อทำได้อย่างนี้ 
จึงจะไม่สร้างมลทินแก่ตน

One should first establish oneself 
In what is proper, 
And then instruct others. 
A wise man who acts in this way 
Shall never get defiled.

๓. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา 
ยถญฺญมนุสาสติ 
สุทนฺโต วต ทเมถ 
อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ฯ ๑๕๙ ฯ

สอนคนอื่นอย่างใด 
ควรทำตนอย่างนั้น 
ฝึกตนเองแล้วค่อยฝึกคนอื่น 
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก

As he instructs others 
He should himself act. 
Himself fully controlled, 
He should control others. 
Difficult indeed is to control oneself.


๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ 
โก หิ นาโถ ปโร สิยา 
อตฺตนา หิ สุทนฺตน 
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ ฯ ๑๖๐ ฯ


เราต้องพึ่งตัวเราเอง 
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ 
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว 
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself ideeed is master of oneself, 
Who else could other master be? 
With oneself perfectedly trained, 
One obtains a refuge hard to gain.


๕. อตฺตนาว กตํ ปาปํ 
อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ 
อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ 
วชิรํวมฺหยํ มณึ ฯ ๑๖๑ ฯ

บาปที่ตนทำเอง เกิดในตนเอง 
และตนเองเป็นผู้สร้างไว้ 
ย่อมทำลายคนโง่ให้ย่อยยับ 
เหมือนเพชร ทำลายแก้วมณี

The evil, done by oneself, 
Self-begotten and self-produced, 
Crushes the witless one, 
As the diamond grinds a hard gem.


๖. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ 
มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ 
กโรติ โส ตถตฺตานํ 
ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส ฯ ๑๖๒ ฯ


คนทุศีล ก็เหมือนกับต้นไม้ 
ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก 
เขาทำตัวให้วอดวายเอง 
มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้


An exceedingly corrupted man is like 
A creeper strangling a tree. 
Surely, he does unto himself 
What his enemy would wish for him.


๗. สุกรานิ อสธูนิ 
อตฺตโน อหิตานิ จ 
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ 
ตํ เว ปรมทุกฺกรํ ฯ ๑๖๓ ฯ

กรรมไม่ดี ทั้งไม่มีประโยชน์แก่ตน ทำง่าย 
แต่กรรมดีและมีประโยชน์ ทำได้ยากยิ่ง

Easy to do are those karmas 
Which are bad and not benefitting oneself. 
But those which are good and beneficial 
Are dificult indeed to be performed.

๘. โย สาสนํ อรหตํ 
อริยานํ ธมฺมชีวินํ 
ปฏิกฺโกสติ ทุมฺเมโธ 
ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปิกํ 
ผลานิ กณฺฏกสฺเสว 
อตฺตฆญฺญาย ผลฺลติ ฯ ๑๖๔ ฯ

คนทรามปัญญา มีความเห็นผิด ติเตียนคำสอน 
ของเหล่าพระอริยะผู้อรหันต์ ผู้มีชีวิตอยู่โดยธรรม 
เขาย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตัวเขาเอง 
เหมือนชุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

Whoso on account of false views 
Scorns the teaching of the Noble Ones, 
The Worhty and Righteous Ones. 
He, the foolish man, destroys himself 
Like the bamboo, seeding, finds its end.

๙. อตฺตนาว กตํ ปาปํ 
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ 
อตฺตนา อกตํ ปาปํ 
อตฺตนาว วิสุชฺฌติ 
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ 
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ฯ ๑๖๕ ฯ

ตนทำบาปเอง ตนก็เศร้าหมองเอง 
ตนไม่ทำบาปตนก็บริสุทธิ์เอง 
ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน 
คนอื่นจะให้คนอื่นบริสุทธิ์แทนไม่ได้

By oneself is evil done, 
By oneself does one get defiled. 
By oneself is evil left undone, 
By oneself is one purified. 
Purity or impurity depends on oneself, 
No one can purify anther.

๑๐. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน 
พหุนาปิ น หาปเย 
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย 
สทตฺถปสุโต สิยา ฯ ๑๖๖ ฯ


ถึงจะทำประโยชน์แก่คนอื่นมากมาย 
ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน 
เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางของตนแล้ว 
ก็ควรใฝ่ใจขวนขวาย

Fall not away from one's own purpose 
For the sake of another, however great, 
When once one has seen one's own goal, 
One should hold to it fast and firm.


หมวดโลก - THE WORLD

๑. หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย
ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย
น สิยา โลกวฑฺฒโน ฯ ๑๖๗ ฯ
อย่าประพฤติสิ่งเลวทราม
อย่าอยู่ด้วยความประมาท
อย่ายึดถือความเห็นผิด
อย่าทำตนเป็นคนรกโลก

Do not follow mean things.
Do not live in heedlessness.
Do not embrace false views,
Do not be a 'world-upholder'.
๒. อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย
ธมฺมํ สุจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๑๖๘ ฯ

ลุกขึ้นเถิด อย่ามัวประมาทอยู่เลย
จงประพฤติสุจริตธรรม
เพราะผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

Arise! Be not negligent!
Lead a righteous life.
For one who lives a righteous life
Dwells in peace here and hereafter.

๓. ธมฺมญฺจเร สุจริตํ
น ตํ ทุจฺจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๑๖๙ ฯ

จงประพฤติสุจริตธรรม
อย่าประพฤติทุจริต
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
By Dharma should one lead one's life
And not embrace corrupted means.
For one who lives a Dharma life
Dwells in peace here and hereafter.

๔. ยถา พุพฺพุฬกํ ปสฺเส
ยถา ปสฺเส มรีจิกํ
เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ
มจฺจุราชา น ปสฺสติ ฯ ๑๗๐ ฯ

ผู้ที่มองเห็นโลก
ว่าไม่จีรังและหาสาระอะไรมิได้
เช่นเดียวกับคนมองฟองน้ำและพยับแดด
คนเช่นนี้พญามารย่อมตามหาไม่พบ

Whoso would look upon the world
Just as one would see a bubble,
And as one would view a mirage-
Him the King of Death finds not.
๕. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ
จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ
นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ ฯ ๑๗๑ ฯ
สูเจ้าทั้งหลาย จงมาเถิดมาดูโลกนี้
อันวิจิตรพิสดาร เหมือนกับราชรถทรง
ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกมุ่นอยู่
แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่
Come you all and behold this world
Like an ornamented royal chariot,
Wherein the fools are deeply sunk.
But for those who know there is no bond.
๖. โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา
ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ
อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา ฯ ๑๗๒ ฯ
ผู้ที่เคยประมาทในกาลก่อน
แต่ภายหลังไม่ประมาท
เขาย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ
Whoso was previously negligent
But afterwards practises vigilance-
He illumines the world here and now
Like the moon emerging from the cloud.

๗. ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ
กุสเลน ปหียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ
อพฺภา มุตฺโต จนฺทิมา ฯ ๑๗๓ ฯ

ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว
ละได้ด้วยการทำดี
ผู้นั้นย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ

Who by his wholesome deeds
Removes the evil done-
He illumines the workd here and now
Like the moon emerging from the cloud.

๘. อนฺธภูโต อยํ โลโก
ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
สกุนฺโต ชาลมุตฺโตว
อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ ฯ ๑๗๔ ฯ
โลกนี้ มืดมน น้อยคนจักเห็นแจ้ง
น้อยคน จะไปสวรรค์
เหมือนนกติดข่ายนายพราน
น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้

Blind is this world,
Few are they who clearly see.
As the birds escaping from a net,
Few are they who go to heaven.

๙. หํสาทิจฺจปเถ ยนฺติ
อากาเส ยนฺติ อิทฺธิยา
นียนฺติ ธีรา โลกมฺหา
เชตฺวา มารํ สวาหนํ ฯ ๑๗๕ ฯ
พระยาหงส์ เหินฟ้าไปหาพระอาทิตย์
ผู้มีฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศ
นักปราชญ์ ออกไปจากโลก
เพราะเอาชนะพญามารพร้อมทั้งกองทัพ

Swans fly on the path of the sun,
Magicians pass through the air.
The wise go forth out of the world,
Having conquered Mara with all his troop.

๑๐. เอกธมฺมมตีตสฺส
มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส
นตฺถิ ปาปํ อการิยํ ฯ ๑๗๖ ฯ

คนที่ล่วงศีลข้อที่สี่
มักพูดเท็จ ไม่คำนึงถึงปรโลก
จะไม่ทำความชั่ว ไม่มี

By him who breaks the fourth precept,
Who at all time speaks untruth,
Who regards not the world beyond,
There is no evil that cannot be done.

๑๑. น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน
เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺถ ฯ ๑๗๗ ฯ
แน่นอน คนตระหนี่ไม่มีโอกาสไปเทวโลก
แน่นอน คนโง่ ไม่สรรเสริญการให้
แต่คนฉลาด ยินดีให้ทาน
นี่แลที่บันดาลให้เขาได้รับสุขในปรภพ

Verily, the misers go not to celestial realms.
Fools do not indeed praise liberality.
The wise, however, rejoice in giving
And thereby become happy hereafter.
๑๒. ปฐพฺยา เอกรชฺเชน
สคฺคสฺส คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปจฺเจน
โสตาปตฺติผลํ วรํ ฯ ๑๗๘ ฯ
ยิ่งกว่า เอกราชย์ทั่วทั้งแผ่นดิน
ยิ่งกว่า ขึ้นสวรรคาลัย
ยิ่งกว่า อธิปไตยใดในโลกทั้งปวง
คือ พระโสดาปัตติผล
Than sole sovereignty over the earth,
Than going to celestial worlds,
Than lordship over all the worlds,
Better is the fruit of a Stream-Winner.

หมวดพระพุทธเจ้า - THE ENLIGHTENED ONE

๑. ยสฺส ชิตํ นาวชียติ 
ชิตมสฺส โน ยาติ โกจิ โลเก 
ตํ พุทฺธมนนฺตโคจรํ 
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ ฯ ๑๗๙ ฯ

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด 
ทรงชนะกิเลสได้เด็ดขาด 
กิเลสที่ทรงชนะแล้วไม่ติดตามพระองค์ไปอีก 
พระพุทธเจ้าองค์นั้น 
ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้ 
ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว 
พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า

Whose conquest is not turned into defeat, 
Whom not even a bit of conquered passion follows- 
That trackless Buddha of infinite range, 
By which way will you lead him?

๒. ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา 
ตณฺหา นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว 
ตํ พุทฺธมนนฺตโคจรํ 
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ ฯ ๑๘๐ ฯ
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด 
ไม่มีตัณหาดังตาข่าย อันมีพิษสงร้ายกาจ 
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น 
ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้ 
ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว 
พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า
Whom no entangling and poisonous 
Passions can lead astray- 
That trackless Buddha of infinite range, 
By which way will you lead him?

๓. เย ฌานปฺปสุตา ธีรา 
เนกฺขมฺมูปสเม รตา 
เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ 
สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ ฯ ๑๘๑ ฯ

เหล่าเทวดาย่อมรักธีรชน 
ผู้ขวนขวายในกรรมฐาน 
ยินดีในนิพพานอันสงบ 
มีสติและรู้แจ้งจบสัจธรรม

Absorbed in meditation pratice, 
Delighting in the peace of Nibbana 
Mindful, wise and fully enlightened- 
Such men even the gods hold dear.

๔. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ 
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ 
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ 
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท ฯ ๑๘๒ ฯ

ยาก ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ 
ยาก ที่ชีวิตสัตว์อยู่สบาย 
ยาก ที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ 
ยาก ที่พระสัมพุทธจะอุบัติมา

Hard is it to be born as a man, 
Hard is the life of mortals, 
Hard is it to hear the Truth Sublime, 
Hard as well is the Buddha's rise.

๕. สพฺพปาปสฺส อกรณํ 
กุสลสฺสูปสมฺปทา 
สจิตฺตปริโยทปนฺ 
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ ๑๘๓ ฯ
ไม่ทำความชั่วทุกชนิด 
ทำแต่ความดี 
ทำใจให้ผ่องใส 
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

Abstention from all evil, 
Cultivation of the wholesome, 
Purification of the heart; 
This is the Message of the Buddhas.

๖. ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา 
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา 
น หิ ปพฺพฃิโต ปรูปฆาตี 
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต

ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด 
นิพพาน ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นยอด 
ผู้ที่ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต 
ผู้ที่ยังเบียดเบียนคนอื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ
Forbearance is the highest ascetic practice, 
'Nibbana is supreme'; say the Buddhas. 
he is not a 'gone forth' who harms another. 
He is not a recluse who molests another.
๗. อนูปวาโท อนูปฆาโต 
ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร 
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ 
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ 
อธิจิตฺเต จ อาโยโค 
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ ๑๘๕ ฯ

ไม่ว่าร้ายใคร 
ไม่กระทบกระทั่งใคร 
ระมัดระวังในปาติโมกข์ 
บริโภคพอประมาณ 
อยู่ในสถานสงัด 
ฝึกหัดจิตให้สงบ 
นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

To speak no ill, 
To do no harm, 
To observe the Rules, 
To be moderate in eating, 
To live in a secluded abode, 
To devote onself to meditation- 
This is the Message of the Buddhas.

๘. น กหาปณวสฺเสน 
ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ 
อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา 
อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต ฯ ๑๘๖ ฯ

๙. อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ 
รตึ โส นาธิคจฺฉติ 
ตณฺหกฺขยรโต โหติ 
สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ฯ ๑๘๗ ฯ
ถึงแม้เงินตราจะไหลมาดังห่าฝน 
ความอยากของคนก็หาอิ่มไม่ 
กามวิสัยทั้งหลายมีความสุขจริงๆน้อย 
เต็มไปด้วยความทุกข์สารพัด 
รู้ชัดดังนี้แล้ว สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ย่อมไม่ยินดีในกามารมณ์แม้ที่เป็นทิพย์ 
หากแต่ยินดีในทางสิ้นกิเลสตัณหา
Not in a rain of golden coins 
Is satisfaction to be found. 
' Of little joy, but painful are sensual pleasures'; 
Thus the wise man clearly comprehends. 
Even in the heavenly pleasures 
He finds no satisfaction. 
In the destruction of all desires, 
The Fully Awakened One's disciple delights.

๑๐. พหู เว สรณํ ยนฺติ 
ปพฺพตานิ วนานิ จ 
อารามรุกฺขเจตฺยานิ 
มนุสฺสา ภยตชุชิตา ฯ ๑๘๘ ฯ 
คนเป็นจำนวนมาก เมื่อภัยมาถึงตัว 
พากันยึดเอาสิ่งต่างๆเป็นที่พึ่ง 
อาทิ ภูเขา ป่าไม้ สวน 
ต้นไม้ และเจดีย์
Many men in their fear 
Betake themselves for a refuge 
To hills, woods, gardens 
Sacred trees and shrines.
๑๑. เนตํ โข สรณํ เขมํ 
เนตํ สรณมุตฺตมํ 
เนตํ สรณมาคมฺม 
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ฯ ๑๘๙ ฯ
นั่นมิใช่ที่พึ่งอันปลอดภัย 
นั่นมิใช่ที่พึ่งอันสูงสุด 
อาศัยที่พึ่งชนิดนั้น 
ก็ไม่พ้นทุกข์ทั้งปวงได้
Such a refuge is not secure, 
Such a refuge is not supreme. 
To such a refuge shoulf one go, 
One is not released from all sorrow.

๑๒. โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ 
สงฺฆญฺจ สรณํ คโต 
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ 
สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ฯ ๑๙๐ ฯ
๑๓. ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ 
ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ 
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ 
ทุกฺขูปสมคามินํ ฯ ๑๙๑ ฯ
ผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง 
ย่อมเห็นอริยสัจด้วยปัญญาชอบ คือ 
ทุกข์, เหตุของทุกข์, ความดับทุกข์ และ 
อริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางดับทุกข์

He who takes refuge in 
The Buddha, the Dharma and the Sangha 
Sees with wisdom the Four Noble Truths: 
Suffering, 
The Cause of Suffering, 
The Cessation of Suffering, 
The Noble Eightfold Path leading to 
The Cessation of Suffering.

๑๔. เอตํ โข สรณํ เขมํ 
เอตํ สรณมุตฺตมํ 
เอตํ สรณมาคมฺม 
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ฯ ๑๙๒ ฯ
นั่นแลคือที่พึ่งอันปลอดภัย 
นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด 
คนเราอาศัยที่พึ่งชนิดนั้น 
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
Such indeed is a refuge secure, 
Such indeed is a refuge supreme. 
To such a refuge should one go, 
One is released from all sorrow.
๑๕. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ 
น โส สพฺพตฺถ ชายติ 
ยตฺถ โส ชายตี ธีโร 
ตํ กุลํ สุขเมธติ ฯ ๑๙๓ ฯ
บุรษอาชาไนย หาได้ยาก 
เขาย่อมไม่เกิดในตระกูลทั่วไป 
คนฉลาดเช่นนี้ เกิดในตระกูลใด 
ตระกูลนั้นย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยความสุข

Hard to find is the Man Supreme, 
He is not born everywhere. 
But where such a wise one is born, 
That family thrives happily.
๑๖. สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท 
สุขา สทฺธมฺมเทสนา 
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี 
สมคฺคานํ ตโป สุโข ฯ ๑๙๔ ฯ

การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เกิดสุข 
การแสดงพระสัทธรรมให้เกิดสุข 
ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข 
ความพยายามของหมู่ที่พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข

Happy is the birth of the Buddha, 
Happy is the preaching of the Sublime Dharma, 
Happy is the unity of the Sangha, 
Happy is the striving of the united ones.
๑๗. ปูชารเห ปูชยโต 
พุทฺเธ ยทิจ สาวเก 
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต 
ติณฺณโสกปรทฺทเว ฯ ๑๙๕ ฯ
๑๘. เต ตาทิเส ปูชยโต 
นิพฺพุเต อกุโตภเย 
น สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตุํ
อิเมตฺตมปิ เกนจิ ฯ ๑๙๖ ฯ
ผู้บูชาท่านที่ควรบูชา 
คือพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า 
ผู้ล่วงพ้นกิเลสเครื่องขวางกั้น 
หมดโศกหมดปรเทวนา สงบระงับ 
ปลอดภัยโดยประการทั้งปวง 
ใครๆไม่สามารถจะคำนวณบุญของบุคคลผู้นี้ว่า 
"เขาได้บุญประมาณเท่านี้"
He who venerates those venerable ones, 
Be they the Buddhas or disciples; 
Those who have overcome obstacles 
And gone beyond distress and lamentation, 
Those who are serene and all-secure- 
No one is able to calculate 
His merit as 'such and such'.

หมวดความสุข - HAPPINESS

๑. สุสุขํ วต ชีวาม
เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อเวริโน ฯ ๑๙๗ ฯ

ในหมู่มนุษย์ ผู้จองเวรกัน
พวกเราไม่จองเวรใคร
ช่างอยู่สบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ผู้เต็มไปด้วยเวร
พวกเราอยู่อย่างปราศจากเวร

Happily indeed do we live
Unhating among those hating men.
Among many hate-filled men,
Thus we dwell unhating.

๒. สุสุขํ วต ชีวาม
อาตุเรสุ อนาตุรา
อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนาตุรา ฯ ๑๙๘ ฯ


ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราหมดกิเลสแล้ว
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราอยู่ปราศจากกิเลส


Happily indeed do we live
Not yearning among those who yearn.
Among many yearning men,
Thus we dwell unyearning.


๓. สุสุขํ วต ชีวาม
อุสฺสุกฺเกสุ อนุสฺสุกา
อุสฺสุกฺเกสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนุสฺสุกา ฯ ๑๙๙ ฯ


ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราไม่กระวนกระวาย
ช่างอยู่เป็นสุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราอยู่ปราศจากความกระวนกระวาย


Happily indeed do we live
Not anxious among those anxious men.
Among many anxious men,
Thus we dwell unanxious.


๔. สุสุขํ วต ชีวาม
เยสํ โน นตฺถิ กิญฺจนํ
ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม
เทวา อาภสฺสรา ยถา ฯ ๒๐๐ ฯ

พวกเราไม่มีกิเลสเศร้าหมองใจ
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
พวกเรามีปีติเป็นภักษาหาร
เปรียบปานเหล่าอาภัสรพรหม


Happily indeed do we live-
We that call nothing our own.
Feeders on joy shall we be
Even as the Abhassara gods.


๕. ชยํ เวรํ ปสวติ
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต ชยปราชยํ ฯ ๒๐๑ ฯ


ผู้แพ้ย่อมก่อเวร
ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้ละความแพ้และความพ่ายเสีย
มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข

The victor begets hate,
While the defeated lives in distress.
Happily the peaceful lives,
Having given up victory and defeat.


๖. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
นตฺถิ โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ฯ ๒๐๒ ฯ


ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ
ไมีมีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์
ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ

No fire is there like lust,
No crime like hatred,
No ill like the Five Aggregates,
No higher bliss than Nibbana's peace.

๗. ชิฆจฺฉาปรมา โรคา
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ­ตฺวา ยถาภูตํ
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๓ ฯ


ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
รู้ความจริงข้อนี้แล้ว
(คนฉลาด จึงทำพระนิพพานให้แจ้ง)
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง


Of all diseases hunger is the greatest,
Of all pains the comp[ounded things,
Knowing this (the wise realize Nibbana)
Which is the bliss supreme.

๘. อาโรคฺยปรมา ลาภา
สนฺตุ&hibar;ฺปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ­าตี
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๔ ฯ

ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความไว้วางใจกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

Health is the highest gain,
Contentment is the greatest wealth,
Trustful are the best kinsmen,
Nibbana is the highest bliss.

๙. ปวิเวกรสํ ปิตฺวา
รสํ อุปสมสฺส จ
นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป
ธมฺมปีติรสํ ปิวํ ฯ ๒๐๕ ฯ

เมื่อได้ลิ้มรสแห่งวิเวก
และรสพระนิพพานอันสงบ
ได้ดื่มรสแห่งความอิ่มเอมในพระธรรม
บุคคลย่อมจะหมดบาป หมดทุกข์ร้อน

Having tasted the flavour of
Seclusion and Nibbana's peace,
Woeless and stainless becomes he,
Drinking the taste of the Dharma's joy.


๑๐. สาธุ ทสฺสนมริยานํ
สนฺนิวาโส สทา สุโข
อทสฺสเนน พาลานํ
นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ ๒๐๖ ฯ


การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี
การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ
เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้
คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์


Good is it to see the Noble Ones,
To dwell with them is happiness,
By not seeing foolish men,
One may ever be happy.


๑๑. พาลสงฺคตจารี หิ
ทีฆมทฺธาน โสจติ
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
อมิตฺเตเนว สพฺพทา
ธีโร จ สุขสํวาโส
ญาตีนํว สมาคโม ฯ ๒๐๗ ฯ


เพราะผู้คบคนพาล ย่อมเศร้าโศกนาน
การอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ความทุกข์
เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
การอยู่ร่วมกับนักปราญ์มีแต่ความสุข
เหมือนสมาคมของญาติ


Frequenting the company of fools
One surely grieves for long;
For association with fools is ever ill
Just as ever that of foes.
But to dwell with the wise is happiness
Just as relatives together met.


๑๒. ตสฺมา หิ
ธีรญฺจ ปญญญฺจ พหุสฺสุตญจ
โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมา ฯ ๒๐๘ ฯ


เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ์
ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มีศีลาจารวัตร
เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์


Therefore-
Him the intelligent, the wise, the learned,
The devout, the dutiful and the Noble One-
Such a wise and intelligent man
Should one ever follow
As the moon follows the track of stars.