พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ | คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้ |
พาโล อปริณายโก | คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ |
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ | ตนเป็นที่พึ่งของตน |
ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย | ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ |
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย | ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า |
ยถาวาที ตถาการี | พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น |
สจฺจํ เว อมตา วาจา | คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย |
อิณาทานํ ทุกขํ โลเก | การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก |
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา | บัญฑิตย่อมฝึกตน |
ททมาโน ปิโย โหติ | ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก |
หมวดที่ 2 “หมวดบุคคล” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ธมฺมเทสฺสี ปราภโว | ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม |
ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวา | อ่อนไปก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไปก็มีภัยเวร |
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต | ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก |
ทุวิชาโน ปราภโว | ผู้มีความรู้ในทางชั่ว เป็นผู้เสื่อม |
สุวิชาโน ภวํ โหติ | ผู้มีความรู้ในทางที่ดี เป็นผู้เจริญ |
โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา | พวกโจรเป็นเสนียดของโลก |
ธมฺมกาโม ภวํ โหติ | ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ |
ครุ โหติ สคารโว | ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีผู้เคารพตนเอง |
ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ | ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น |
สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ | ความซื่อสัตย์นั่นแล |
หมวดที่ 3 “หมวดการศึกษา” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโรอาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ | คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่น เพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และ ศีล ก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว |
โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ วินโย วา สุสิกฺขิโต วเน อนฺธมหึโสว จเรยฺย พหุโก ชโน | ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบ วินัยคนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดัง กระบือบอดในกลางป่า |
สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา | ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา |
ปุตฺเต วิชฺชาสุ ฐาปย | บิดามารดา พึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา |
โยคา เว ชายเต ภูริ | ปัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะการฝึกฝน |
ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย | ปัญญานั่นแหละ ประเสริฐกว่าทรัพย์ |
สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ | ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา |
ปญฺญา นรานํ รตนํ | ปัญญาเปรียบเสมือน เครื่องประดับแห่งตน |
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต | ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก |
อวิทฺทสู มารวสานุวตฺติโน | คนโง่ มักตกอยู่ในอำนาจ แห่งมาร |
หมวดที่ 4 “หมวดวาจา” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
วาจํ ปมุญเจ กุสลํ นาติเวลํ | ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินแก่ควรกาล |
พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนฺติ ยตฺถ ธีรา ปภาสเร | คนมีปัญญา แม้มีปัญหา และ ถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใด ก็หลุดได้ในเรื่องนั้น |
หทยสฺส สทิสี วาจา | ว า จ า เ ช่ น เ ดี ย ว กั บ ใ จ |
น หิ มุญเจยฺย ปาปิกํ | ไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย |
อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ | คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดตัวในเรื่องนั้น |
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ | คนกล่าววาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน |
มนุญฺญเมว ภาเสยฺยํ | ควรกล่าวแต่วาจา ที่น่าพอใจ |
ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา | คนโกรธมีวาจาหยาบ |
สจฺจํ เว อมตา วาจา | คำสัตย์ แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย |
อภูวาที นิรยํ อุเปติ | คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก |
หมวดที่ 5 “หมวดความอดทน” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน | ความอดทน เป็นตปะ ( ต บ ะ ) ของผู้พากเพียร |
ขนฺติ หิตสุขาวหา | ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข |
ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร | ความอดทน เป็นเครื่องประดับ ของนักปราชญ์ |
ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา | ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง |
ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ | ความอดทน เป็นกำลัง ของนักพรต |
ขนฺติ สาหสวารณา | ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่ง ความผลุนผลัน |
ขนฺติพลา สมณพราหมณา | สมณพรามหณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง |
มนาโป โหติ ขนฺติโก | ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น |
เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก | ความอดทน ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น , ผู้มีขันติ ชื่อว่า ย่อมขุดรากแห่งความ ติเตียน และ การทะเลาะกันได้ เป็นต้น |
ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวาปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก | ผู้มีความอดทน นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และ มีสุขเสมอ , ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รัก ชอบใจของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย |
หมวดที่ 6 “หมวดความเพียร” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ขโณ โว มา อุปจฺจคา | อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ |
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ | คนที่ผลัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม |
กาลคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ | คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า |
โภคา สนฺนิตยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ | ค่อยๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก |
อตีตํ นานฺวาคเมยฺนย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ | อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต |
อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ | คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค |
อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเข | ผู้ที่ทำการงานลวกๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือดร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก |
อชฺช สุวติ ปุริโส สทตฺทํ นาวพุชฺฌติโอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺญติ ฯลฯ | คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรทำพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของ กาฬกิณี |
โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโตอารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี | ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรว่าเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็น พุทธานุศาสนี |
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติอนาคตํ เนตมตฺถีติ ญตฺวาอุปฺปนฺนจฺฉนฺทํ โก ปนุเทยฺย ธีโร | มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า |
หมวดที่ 7 “หมวดความโกรธ” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท | พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ |
โกโธ สตฺถมลํ โลเก | ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก |
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ | ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข |
โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท | พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา |
โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ | ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์ |
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ | ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย |
อนตฺถชนโน โกโธ | ความโกรธก่อความพินาศ |
ทุกฺขํ สยติ โกธโน | คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ |
อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช | ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น |
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ | ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้ |
หมวดที่ 8 “หมวดการชนะ” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ | การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง |
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ | รสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง |
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ | ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง |
ชิเน กทริยํ ทาเนน | พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ |
ชยํ เวรํ ปสวติ | ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร |
อสาธํ สาธุนา ชิเน | พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี |
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ | พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ |
ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ | ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี |
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ | ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง |
น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ. | ความชนะใดที่ชนะแล้ว กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี |
หมวดที่ 9 “หมวดความประมาท” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ปมาโท รกฺขโต มลํ | ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา |
เย ปมตฺตา ยถา มตา | ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว |
ปมาเทน น สํวเส | ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท |
ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา | คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท |
เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา | คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน |
ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ | ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, |
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ | มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย |
โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต | ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู้ตั้งร้อยปี, |
เอกาหฺ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน | ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวประเสริฐกว่า |
โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ | เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง |
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา | เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น |
ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ | คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ |
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา | เมื่อเขาถือตัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ |
พหุมฺปิ เจ สํหิต ภาสมาโน | หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท |
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต | ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล |
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ | เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น |
น ภาควา สามญฺญฺสฺส โหติ | |
หมวดที่ 10 “หมวดความไม่ประมาท” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ | ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย |
อปฺปมาทรตา โหถ | ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท |
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ | บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท |
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ | บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง |
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต | ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์ |
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติ | ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด |
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา สญฺโญชนํ อณํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ | ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น |
อปฺปมาทรโต ภิกขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา อภพฺโพ ปริหานาย นิพพานสฺเสว สนฺติเก | ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว |
อวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ | ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วไปเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้ |
อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ | ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท |
หมวดที่ 11 “หมวดตน-การฝึกตน” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา | ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ |
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย | ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี |
ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา | ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก |
ยทตฺตครหิ ตทกุพฺพมาโน | ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น |
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ | ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว |
สทตฺถปสุโต สิยา | พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน |
นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย | ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ |
กลฺยาณํ วต โภ สกฺขิ อตฺตานํ อติมญฺญสิ | ท่านเอ๋ย ! ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย |
สนาถา วิหรถ มา อนาถา | จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง |
ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ อตฺตโน ปน ฉาเทติ กลึว กิตวา สโฐ | โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้ |
หมวดที่ 12 “หมวดมิตร” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร | มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมารยาทเลว และที่เที่ยวเลว |
อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา | เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้ |
สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ | ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง |
มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร | มารดาเป็นมิตรในเรือนตน |
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร | มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นพรหม |
วิสฺสาสปรมา ญาติ | คนคุ้นเคย ไว้ใจกันได้ เป็นญาติอย่างยิ่ง |
สตฺโถ ปวสโต มิตฺตํ | หมู่เกวียน เป็นมิตรของคนเดินทาง |
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา | ถ้าได้สหายเป็นผู้รอบคอบ พึงพอใจและมีสติเที่ยวไปกับเขา |
มิตฺตทุพฺโก หิ ปาปโก | ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้ |
ภริยา ปรมา สขา | ภริยาเป็นเพื่อนสนิท |
หมวดที่ 13 “หมวดการคบหา” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ยํ เว เสวติ ตาทิโส | คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น |
ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ | ควรคบมิตรที่ดี |
มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส | แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ |
โหติ ปานสขา นาม | เป็นเพื่อน เพียงเพื่อดื่มเหล้าก็มี |
นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี | ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวไปด้วย |
อเปตจิตฺเตน น สมฺภเชยฺย | เมื่อเขาไม่มีเยื่อใย ป่วยการอยู่กินด้วย |
มาสฺสุ พาเลน สงฺคจฺฉิ อมิตฺเตเนว สพฺพทา | อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ |
ยตฺถ เวรี นิวีสติ น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต | โจรพาลอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น |
เสยฺยํโส เสยฺยโส โหติ โย เสยฺยมุปเสวติ | คบคนดี ก็พลอยมีส่วนดีด้วย |
เสฏฺฐมุปคมญฺจ อุเทติ ขิปฺปํ | เมื่อคบคนที่ดีกว่า ตัวเองก็ดีขึ้นมาฉับพลัน |
หมวดที่ 14 “หมวดการสร้างตัว” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ธมฺเมน วิตฺตเมเสยฺย | บุคคลพึงหาเลี้ยงชีพ โดยทางชอบธรรม |
ปโยชเย ธมฺมิกํ โส วณิชฺชํ | บุคคลพึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม |
น นิกตฺยา ธนํ หเร | บุคคลไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง |
อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก | ถึงไม่ได้ แต่ชอบธรรม ยังดีกว่าได้โดยไม่ชอบธรรม |
ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนิ | ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้ |
โภคา สนุนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ | ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก |
อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ | การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอย่างสูงสุด |
น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา | โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ที่จะสำเร็จเพียงด้วยคิดเอา ย่อมไม่มี |
สกมฺมุนา โหติ ผลูปปตฺติ | ความอุบัติแห่งผล ย่อมมีได้ด้วยการกระทำของตน |
ยหึ ชีเว ตหึ คจฺเฉ น นิเกตหโต สิยา | ชีวิตจะอยู่ได้ที่ไหน พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย |
หมวดที่ 15 “หมวดการปกครอง” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
มา มโท ภรตูสภ | ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย |
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ เสติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก | ถ้าผู้ปกครองทรงธรรม ประเทศชาติก็เป็นสุข |
สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ | การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น |
สงฺเกยฺย สงฺกิตพฺพานิ | พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง |
สาธุ ธมฺมรุจี ราชา | ผู้ปกครองชอบธรรมจึงจะดี |
ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ | พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง |
ปมาทา ชายเต ขโย | เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม |
ขยา ปโทสา ชายนฺติ | เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง |
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ | สักการะฆ่าคนชั่วได้ |
รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ | พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง |
หมวดที่ 16 “หมวดสามัคคี” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี | สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข |
สมคฺคา สขิลา โหถ | จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน |
สมคฺคานํ ตโป สุโข | ความเพียรของหมู่ชน ผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข |
สูกเรหิ สมคฺเคหิ พฺยคฺโฆ เอกายเน หโต | สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสื้อโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว |
สามคฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสตํ | พึงศึกษาความสามัคคี , ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว , ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจาธรรมอันเกษมจาโยคะ |
วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี | ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และ ความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี |
เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธโร โย ปเรสาธิปนฺนานํ สยํ สนฺธาตุมรหติ | ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม |
สเจปิ สนฺโต วิวทนฺติ ขิปฺปํ สนฺธียเร ปุน พาลา ปตฺตาว ภิชฺชนฺติ น เต สมถมชฺฌคู | ถ้าแม้นสัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย |
หมวดที่ 17 “หมวดเกื้อกูลสังคม” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ธนํ จเช องฺควรสฺส เหตุ | พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ |
องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน | พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต |
องฺคํ ธนํ ชีวิตญจฺาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต | พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และ แม้ชีวิต เพื่อรักษาความถูกต้อง |
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร | ผู้ฉลาดควรสละสุขเล็กน้อย เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
หมวดที่ 18 “หมวดพบสุข” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
น หึสนฺติ อกิญฺจนํ | ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน |
สุขิโน วตารหนฺโต | ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ |
สกิญฺจนํ ปสฺส วิหญฺญมานํ | คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่ |
ยาวเทวสฺสหู กิญฺจิ ตาวเทว อขาทิสํ | ตราบใด ยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้น ก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง |
หิรญฺญํ เม สุวณฺณํ เม เอสา รตฺตินฺทิวา กถา ทุมฺเมธานํ มนุสฺสานํ อริยธมฺมํ อปสฺสตํ | พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา |
อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ | ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส |
โสจํ ปณฺฑุกิโส โหติ ภตฺตญฺจสฺส น รุจฺจติ อมิตฺตา สุมนา โหนฺติ สลฺลวิทฺธสฺส รุปฺปโต | มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดีใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่ |
อนาคตปฺปชปฺปาย อดีตสฺสานุโสจนา เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต | ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง และ หวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสดที่เขาถอนขึ้น ทิ้งไว้ในกลางแดด |
โย อตฺตโน ทุกฺขมนานุปุฏฺโฐ ปเวทเย ชนฺตุ อกาลรูเป อานนฺทิโน ตสฺส ภวนฺติ มิตฺตา หิเตสิโน ตสฺส ทุกฺขี ภวนฺติ | ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช่กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์ |
ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ นินฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา มา โสจิ กึ โสจสิ โปฏฺฐปาท | ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม |
หมวดที่ 19 “หมวดทาน” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
ททมาโน ปิโย โหติ | ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก |
ทินฺนํ โหติ สุนิพฺภตํ | ของที่ให้แล้ว ชื่อว่านำออกไปอย่างดีแล้ว |
อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ | ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก |
วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ | การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ |
ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน | คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาง |
สพฺเพสํ สหิโต โหติ | คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน |
สนฺโต สตฺตหิเต รตา | คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น |
นิวตฺตยนฺติ โสกมฺหา | คนใจการุณ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า |
นตฺถิ จิตฺเต ปสฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา | เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี |
สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ | ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข |
หมวดที่ 20 “หมวดศีล” | |
พุทธศาสนสุภาษิต | คำแปล |
สีลํ โลเก อนุตฺตรํ | ศีล เป็นเยี่ยมในโลก |
สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ | ศีลพึงรู้ได้เมื่ออยู่ร่วมกัน |
สีลํ ยาว ชรา สีลํ | ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา |
สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี | นักปราชญ์พึงรักษาศีล |
สญฺญมโต เวรํ น จียติ | เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น |
สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร | ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี |
สีลํ กิเรว กลฺยาณํ | ท่านว่าศีล เป็นความดี |
โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน | ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี , ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า |
น เวทา สมฺปรายาย น ชาติ นปิ พนฺธวา สกญฺจ สีลสํสุทฺธํ สมฺปรายสุขาวหํ | เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้ |
อุนฺนฬสฺส ปมตฺตสฺส พาหิราสสฺส ภิกฺขุโน สีลํ สมาธิ ปญฺญา จ ปาริปูรึ น คจฺฉติ | เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก ศีล สมาธิ และ ปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ |
หน้าเว็บ
- หน้าแรก
- ประวัติเจ้าของBlog
- เอกสารสำคัญ
- โยมพ่อโยมแม่
- อุปัชฌาย์ข้าพเจ้า
- โยมอุปถัมภ์
- เส้นทางใบเขียว
- งานวาดภาพ
- My Gallery
- กรุภาพส่วนตัว
- ห้องภาพส่วนตัว
- ห้องภาพส่วนตัว
- ญาติติพี่น้อง
- ญาติๆ
- สถิติการย้ายวัด และสถิติการกลับไทย
- เสียงแม่
- รวมภาพที่แต่งใหม่
- แหล่งรวมข้อมูลกรุใหญ่
- เว็บดาวโหลดยูธูป
- ฝากเสียง
- chase.com
- MoneyGram
- ฟังพุทธธรรม
- อัพโหลดหนังสือ
- ดูหนังฟรี
- ที่เขียนกลอนและบทความ
- ธรรมะเสียงที่ฟังประจำ
- รวมวีดิโอที่อัพโหลด
- เว็บที่ดูแล
- วิทยุประจำเว็บ
- ฐานข้อมูล
- คลังธรรม
- เช็คเงิน
- อริยทัศน์
- พระธรรมจักรฯ
- วิทยุไทย
- กลอน ๒
- กลอน ๓
- ห้องจัดรายการวิทยุ
- ดาวโหลดยูธูปแบบง่าย
- http://www.f0nt.com
- ภาษาอังกฤษประจำวัน
- เว็บมหาเถร
- ศึกษาภาษาธรรมะอังกฤษ
- กาลานุกรม
- ภาพคนรู้จักจากรุเก่า
- ประวัติวัดไทยในอเมริกา
- ภาพถ่ายที่วัดนวมินทร์ฯบอสตัน
- หลานขวัญเสียชีวิต
- พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก
- youtubeload
- บาลีสมัชชาฯ
- ดาวโหลดเพื่อเสริมกล้องใช้กับOBSอีกตัว
- แผนที่ชมวีดิโอของfacebook
- https://www.lnwcode.net
- คลังภาพทั้งหมดตั้งแต่ปี 2005
- youtubeส่วนตัว
- เรื่องเล่าน่ากลัว
- freetv
- รวมฟรีทีวีลาว
- ดาวโหลดvideosบนfacebook
- มหาคัมภีร์
- ภาพสวยๆ
- งานออกแบบพระ
- กรอบภาพสวยงาม
- งานวาดภาพและการออกแบบ
- ภาพเก่าเล่าความหลัง
- ภาพเมื่อครั้งกลับเยี่ยมวัดบุศย์ฯ
- วาดภาพบนเว็บ
- ภาษาอังกฤษ อีสาน
- คลิปเด็ด
- จิต วิญญาณ มโน
- เว็บทดลอง
- ติดต่ออาจาย์เวทย์
- ติดต่อสอบถาม
- พุทธศาสนสุภาษิต
- กลับไทย เมื่อ ๒๕๖๑
- สมัครเมล์
- เยี่ยมไทยปี ๒๕๖๑
- ห้องวีดิโอส่วนตัว
- facebook ส่วนตัวใครไม่มีfaceก็เข้าได้
- บรรยาย ถวายความรู้พระครั้งแรก
- facebookวัดบุศย์ฯ
- code ถ่ายทอดสด
- ข้อสอบใบขับขึ่
- เว็บเรียนภาษา
- ความรู้เรื่องอินเดีย
- ธรรมะไทย/อังกฤษ ...
- กลอนวันเกิดหลวงพ่อประชัน
- ศัพท์ภาษาอังกฤษ
- เว็บสอบใบขับขี่ในคอมฯ
- สวดศพฝรั่ง
- สวดศพฝรั่งชาติยิวที่โดนฆาตกรรม ๑๑ ศพ
- เว็บวีดิโอที่คล้ายyoutube
พุทธศาสนสุภาษิต
Subscribe to:
Posts (Atom)